top of page
  • Writer's picturepmtwmocgoth

เมื่อการแพร่ภาพและเสียงทั่วโลกถูกละเมิดลิขสิทธิ์


ปัจจุบัน การคัดลอกรายการโทรทัศน์ในรูปแบบดิจิทัลสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์เพียงไม่กี่คลิก

การขโมยสัญญาณจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ในเชิงพาณิชย์สำหรับองค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพ

ทั่วโลก สาเหตุเนื่องจากกฎระเบียบระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองการกระจายเสียงและแพร่ภาพจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ยังไม่ได้รับการปรับปรุง ตั้งแต่อนุสัญญากรุงโรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิการแปล

สิทธินักแสดง สิ่งบันทึกเสียง การกระจายเสียงทางวิทยุ (Rome Convention for the protection of interpreters and performers, phonogram producers and radio broadcasting) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อนุสัญญากรุงโรม ได้จัดทำขึ้นเมื่อปี 1961 โดยในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่มีการร่างขึ้นในขณะที่

การส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลยังเพิ่งเริ่มต้นและยังไม่มีระบบการสืบค้นข้อมูล หรืออินเทอร์เน็ต

สำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์ในสัญญาณอาจเกิดขึ้นในรูปแบบทางกายภาพ เช่น การบันทึกการ

กระจายเสียงและแพร่ภาพโดยไม่ได้รับอนุญาตลงในวิดีโอเทป ดีวีดี USB หรืออาจเกิดขึ้นได้ใน

รูปแบบเสมือนจริง เช่น การกระจายสัญญาณซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตทางอากาศหรือออนไลน์

การลักลอบเข้าสัญญาณ Pay TV ที่เข้ารหัสด้วยอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการการรักษาความปลอดภัยในกล่องรับสัญญาณ ซึ่งเป็นรูปแบบการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างหนึ่ง


จากการละเมิดลิขสิทธิ์สัญญาณนี้ ส่งผลกระทบต่อผู้กระจายเสียงและแพร่ภาพที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาเป็นอย่างมาก ตัวอย่างคือ จากการถ่ายทอดสดกีฬา ที่มีการส่งสัญญาณซ้ำบนอินเทอร์เน็ต

การละเมิดลิขสิทธิ์สัญญาณทุกรูปแบบนี้ ทำให้ผู้ประกอบการเสียรายได้จากการสมัครสมาชิก Pay TV หรือเสียรายได้จากการโฆษณาเป็นจำนวนหลายล้านดอลลาร์ ทั้งยังส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนและ

การแข่งขันทางการค้าอีกด้วย

ลำดับเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับลิขสิทธิ์การแพร่ภาพและเสียงทั่วโลก


ที่ผ่านมา มีความพยายามขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ในการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์การแพร่ภาพและเสียง ดังนี้


ในปี ค.ศ.1886 อนุสัญญากรุงเบิร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม (Berne Convention) โดยไทยนับเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญานี้ มีผลให้ไทยให้ความคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ของคนไทยและต่างชาติโดยไม่เลือกปฏิบัติประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน


ในปี ค.ศ. 1961 อนุสัญญากรุงโรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิการแปล สิทธินักแสดง สิ่งบันทึกเสียง การกระจายเสียงทางวิทยุได้เกิดขึ้น โดยเจ้าของสัญญาณกระจายเสียงและแพร่ภาพได้รับสิทธิเฉพาะตัว 20 ปี ในการอนุญาตให้กระจายเสียงและแพร่ภาพของตนซ้ำ


ในปี ค.ศ. 1996 สนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ (WIPO Copyright Treaty: WCT) เพื่อคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัล และสนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงและผู้ผลิต สิ่งบันทึกเสียง (WIPO Performances and Phonograms Treaty: WPPT) เกิดขึ้น


ในปี ค.ศ. 2006 สมาชิก WIPO ตกลงยุติการหารือประเด็นการกระจายเสียงและแพร่ภาพเนื้อหาวิดีโอทางสำหรับการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต


ในปี ค.ศ. 2007 มีการร่างสนธิสัญญาใหม่เพื่อทบทวนถึงข้อกำหนดในเรื่องการขโมยสัญญาณ


ในปี ค.ศ. 2011 คณะกรรมการถาวรว่าด้วยลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง (Standing Committee on Copyright and Related Rights) ของ WIPO ได้เจรจาและยกร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ โดยมีประเด็นสำคัญ คือ ขอบเขตการคุ้มครององค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพว่า จะคุ้มครองในรูปแบบดั้งเดิม หรือครอบคลุมถึงการคุ้มครองในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น webcasting ด้วยหรือไม่ อีกทั้งยังมีเรื่องการคุ้มครองความเป็นกลางทางเทคโนโลยีและการเอาผิดกับการเจาะเข้าระบบป้องกันโดยไม่ได้รับอนุญาต


สำหรับประเทศไทย ภายหลังจากที่ได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 พัฒนาการทางด้านการบันทึกภาพและเสียงที่มีขนาดกะทัดรัด สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น ราคาถูกลงและหาซื้อได้ง่าย เช่น เครื่องบันทึกแบบเทปคาสเซ็ท ซีดี สมาร์ทโฟน ไอโฟน (iPhone) และกล้องบันทึกภาพแบบเทปวีดีโอ เป็นต้น ทำให้อุตสาหกรรมโสตทัศนวัสดุและสิ่งบันทึกเสียงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และก่อเกิดผลประโยชน์มหาศาลแก่ผู้เป็นเจ้าของกิจการ หลังจากนั้นการค้ายังได้ขยายไปถึงการบันทึกการแสดงสดภาพและเสียงของงานต่าง ๆ หรือวงดนตรี แต่กฎหมายปัจจุบันคุ้มครองเพียงผู้สร้างสรรค์และเจ้าของงานเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองนักแสดงด้วย จึงเกิดกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่ระบุคุ้มครองสิทธิของนักแสดงไว้อย่างชัดเจน


ปัจจุบัน ได้มีการหารือเรื่องสนธิสัญญาเพื่อคุ้มครององค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ (Treaty on the Protection of Broadcasting Organizations) ขององค์กรทรัพย์สิน ทางปัญญาโลก โดยเป็นสนธิสัญญาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการกิจการแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายช่องทางในการประกอบกิจการ และยังเป็นประโยชน์เมื่อมีการดําเนินการซื้อรายการอันมีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ หรือจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีรายการที่น่าสนใจ


การจัดทำสนธิสัญญาดังกล่าว จะมีส่วนช่วยให้ประเทศสมาชิกของ WIPO ซึ่งรวมถึงไทยได้มีส่วนในการกำหนดแนวทางการจัดทำกรอบหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์และจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์รายการ อีกทั้งยังทําให้สามารถเจรจา ขอซื้อลิขสิทธิ์รายการที่น่าสนใจมาออกอากาศได้สะดวก ชัดเจนในการดําเนินการมากยิ่งขึ้น โดยการให้การคุ้มครองเรื่องการแพร่ภาพและเสียง นับเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทยได้


อนึ่ง ที่ผ่านมา ไทยได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามาตั้งแต่อดีต โดยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ จำนวนมาก แม้จะมีทั้งแบบไม่ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา / อนุสัญญา /ความตกลงทั้งหมด หนึ่งในหน้าที่ของ WIPO คือการสร้างเสริมศักยภาพของประเทศกำลังพัฒนาให้มีขีดความสามารถด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ทั้งนี้ ไทยพยายามส่งเสริมให้มีความร่วมมือที่ดีกับ WIPO ในเรื่องดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเราคงต้องติดตามต่อไปว่าการเจรจาในข้อตกลง Broadcasting Organization Treaty ในกลุ่มประเทศสมาชิก WIPO ในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป



1,024 views
bottom of page