รู้จัก WIPO
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก คือใคร
(World Intellectual Property Organization: WIPO)
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศภายใต้องค์การสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2510 มีวัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยปัจจุบัน WIPO
มีสมาชิก 192 ประเทศ รวมทั้งไทย ซึ่งเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ. 2532
การปฏิบัติงานของ WIPO
(Function& Structure)
WIPO มีความตกลงระหว่างประเทศที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งสิ้น
26 ฉบับ ครอบคลุมประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การออกแบบอุตสาหกรรม และลิขสิทธิ์ เป็นต้น หน้าที่หลักของ WIPO ได้แก่ การบริหารจัดการความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ การอำนวยความสะดวกการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาระหว่าประเทศ การสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
ประเทศไทยกับ WIPO
ประเทศไทยได้มีบทบาทและความร่วมมือที่สร้างสรรค์กับ WIPO มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนภารกิจในด้านการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ การผลักดันวาระด้านการพัฒนา กรอบการเจรจาคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Intergovernmental Committee on Intellectual Property and Genetic Resources, Traditional Knowledge and Folklore- WIPO IGC)
ปัจจุบันไทยได้เข้าเป็นภาคีความตกลงระหว่างประเทศภายใต้การกำกับดูแล
ของ WIPO จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่
1.
อนุสัญญากรุงเบิร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม (Berne Convention)
ไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 โดยสาระสำคัญของ Berne Convention เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ ปัจจุบัน Berne Convention มีภาคีทั้งสิ้น 177 ประเทศ
2.
อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม (Paris Convention)
ไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 โดยสาระสำคัญของ Paris Convention เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม (Industrial Property) เช่น สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า และการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ปัจจุบัน Paris Convention มีภาคีทั้งสิ้น 177 ประเทศ
3.
สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty: PCT)
ไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยสนธิสัญญา PCT มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนสิทธิบัตรระหว่างประเทศ ปัจจุบัน PCT มีภาคีทั้งสิ้น 152 ประเทศ
4.
พิธีสารมาดริด (Madrid Protocol)
ไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560 โดยพิธีสารกรุงมาดริดมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนเครื่องหมายระหว่างประเทศ ปัจจุบันพิธีสารกรุงมาดริดมีภาคีทั้งสิ้น 104 ประเทศ
5.
สนธิสัญญามาร์ราเคช (Marrakesh Treaty)
ไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 โดยสนธิสัญญามาร์ราเคชมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงงานที่มีการโฆษณาแล้วสาหรับคนตาบอด คนพิการทางการเห็น และคนพิการทางสื่อสิ่งพิมพ์ PCT ปัจจุบัน มีภาคีทั้งสิ้น 56 ประเทศ
6.
สนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Copyright Treaty: WCT)
ไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 โดยสนธิสัญญา WCT มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ในสภาพแวดล้อมดิจิทัล ปัจจุบัน WCT มีภาคีทั้งสิ้น 113 ประเทศ
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเข้าร่วมประชุม/เจรจาในคณะกรรมการต่างๆ
ภายใต้กรอบ WIPO เกือบทุกคณะขึ้นกับการเป็นภาคีสมาชิกของไทยในคณะกรรมการดังกล่าว เช่น คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (International Governmental Committee on Genetic Resources, Traditional Knowledge and Traditional Cultural Expression: IGC) คณะกรรมการว่าด้วยการพัฒนาและทรัพย์สินทางปัญญา คณะกรรมการด้านกฎหมายสิทธิบัตร (the Standing Committee on the Law of Patents: SCP) คณะกรรมาธิการถาวรว่าด้วยกฎหมายเครื่องหมายการค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (the Standing Committee on the Law of Trademarks, Industrial Designs and Geographical Indication: SCT) เป็นต้น รวมทั้ง ยังมีบทบาทสร้างสรรค์ในการร่วมมือกับกลุ่มภูมิภาคและกลุ่มย่อยที่ไทยเป็นสมาชิก ได้แก่ กลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก และ กลุ่ม Like-Minded Countries (LMCs) และมีบทบาทในกรรมการในคณะกรรมการประสานงาน (Coordination Committee) ซึ่งดูแลงานบริหารของ WIPO
ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไรจาก WIPO
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเข้าร่วมประชุม/เจรจาในคณะกรรมการต่างๆ
ภายใต้กรอบ WIPO เกือบทุกคณะขึ้นกับการเป็นภาคีสมาชิกของไทยในคณะกรรมการดังกล่าว เช่น คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (International Governmental Committee on Genetic Resources, Traditional Knowledge and Traditional Cultural Expression: IGC) คณะกรรมการว่าด้วยการพัฒนาและทรัพย์สินทางปัญญา คณะกรรมการด้านกฎหมายสิทธิบัตร (the Standing Committee on the Law of Patents: SCP) คณะกรรมาธิการถาวรว่าด้วยกฎหมายเครื่องหมายการค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (the Standing Committee on the Law of Trademarks, Industrial Designs and Geographical Indication: SCT) เป็นต้น รวมทั้ง ยังมีบทบาทสร้างสรรค์ในการร่วมมือกับกลุ่มภูมิภาคและกลุ่มย่อยที่ไทยเป็นสมาชิก ได้แก่ กลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก และ กลุ่ม Like-Minded Countries (LMCs) และมีบทบาทในกรรมการในคณะกรรมการประสานงาน (Coordination Committee) ซึ่งดูแลงานบริหารของ WIPO