เมื่อการแพร่ภาพและเสียงทั่วโลกถูกละเมิดลิขสิทธิ์
- pmtwmocgoth
- Jan 29, 2021
- 1 min read
Updated: Feb 25, 2021

ปัจจุบัน การคัดลอกรายการโทรทัศน์ในรูปแบบดิจิทัลสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์เพียงไม่กี่คลิก
การขโมยสัญญาณจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ในเชิงพาณิชย์สำหรับองค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพ
ทั่วโลก สาเหตุเนื่องจากกฎระเบียบระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองการกระจายเสียงและแพร่ภาพจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ยังไม่ได้รับการปรับปรุง ตั้งแต่อนุสัญญากรุงโรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิการแปล
สิทธินักแสดง สิ่งบันทึกเสียง การกระจายเสียงทางวิทยุ (Rome Convention for the protection of interpreters and performers, phonogram producers and radio broadcasting) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อนุสัญญากรุงโรม ได้จัดทำขึ้นเมื่อปี 1961 โดยในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่มีการร่างขึ้นในขณะที่
การส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลยังเพิ่งเริ่มต้นและยังไม่มีระบบการสืบค้นข้อมูล หรืออินเทอร์เน็ต
สำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์ในสัญญาณอาจเกิดขึ้นในรูปแบบทางกายภาพ เช่น การบันทึกการ
กระจายเสียงและแพร่ภาพโดยไม่ได้รับอนุญาตลงในวิดีโอเทป ดีวีดี USB หรืออาจเกิดขึ้นได้ใน
รูปแบบเสมือนจริง เช่น การกระจายสัญญาณซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตทางอากาศหรือออนไลน์
การลักลอบเข้าสัญญาณ Pay TV ที่เข้ารหัสด้วยอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการการรักษาความปลอดภัยในกล่องรับสัญญาณ ซึ่งเป็นรูปแบบการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างหนึ่ง
จากการละเมิดลิขสิทธิ์สัญญาณนี้ ส่งผลกระทบต่อผู้กระจายเสียงและแพร่ภาพที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาเป็นอย่างมาก ตัวอย่างคือ จากการถ่ายทอดสดกีฬา ที่มีการส่งสัญญาณซ้ำบนอินเทอร์เน็ต
การละเมิดลิขสิทธิ์สัญญาณทุกรูปแบบนี้ ทำให้ผู้ประกอบการเสียรายได้จากการสมัครสมาชิก Pay TV หรือเสียรายได้จากการโฆษณาเป็นจำนวนหลายล้านดอลลาร์ ทั้งยังส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนและ
การแข่งขันทางการค้าอีกด้วย
ลำดับเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับลิขสิทธิ์การแพร่ภาพและเสียงทั่วโลก
ที่ผ่านมา มีความพยายามขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ในการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์การแพร่ภาพและเสียง ดังนี้
ในปี ค.ศ.1886 อนุสัญญากรุงเบิร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม (Berne Convention) โดยไทยนับเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญานี้ มีผลให้ไทยให้ความคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ของคนไทยและต่างชาติโดยไม่เลือกปฏิบัติประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน
ในปี ค.ศ. 1961 อนุสัญญากรุงโรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิการแปล สิทธินักแสดง สิ่งบันทึกเสียง การกระจายเสียงทางวิทยุได้เกิดขึ้น โดยเจ้าของสัญญาณกระจายเสียงและแพร่ภาพได้รับสิทธิเฉพาะตัว 20 ปี ในการอนุญาตให้กระจายเสียงและแพร่ภาพของตนซ้ำ
ในปี ค.ศ. 1996 สนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ (WIPO Copyright Treaty: WCT) เพื่อคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัล และสนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงและผู้ผลิต สิ่งบันทึกเสียง (WIPO Performances and Phonograms Treaty: WPPT) เกิดขึ้น
ในปี ค.ศ. 2006 สมาชิก WIPO ตกลงยุติการหารือประเด็นการกระจายเสียงและแพร่ภาพเนื้อหาวิดีโอทางสำหรับการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต
ในปี ค.ศ. 2007 มีการร่างสนธิสัญญาใหม่เพื่อทบทวนถึงข้อกำหนดในเรื่องการขโมยสัญญาณ
ในปี ค.ศ. 2011 คณะกรรมการถาวรว่าด้วยลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง (Standing Committee on Copyright and Related Rights) ของ WIPO ได้เจรจาและยกร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ โดยมีประเด็นสำคัญ คือ ขอบเขตการคุ้มครององค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพว่า จะคุ้มครองในรูปแบบดั้งเดิม หรือครอบคลุมถึงการคุ้มครองในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น webcasting ด้วยหรือไม่ อีกทั้งยังมีเรื่องการคุ้มครองความเป็นกลางทางเทคโนโลยีและการเอาผิดกับการเจาะเข้าระบบป้องกันโดยไม่ได้รับอนุญาต
สำหรับประเทศไทย ภายหลังจากที่ได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 พัฒนาการทางด้านการบันทึกภาพและเสียงที่มีขนาดกะทัดรัด สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น ราคาถูกลงและหาซื้อได้ง่าย เช่น เครื่องบันทึกแบบเทปคาสเซ็ท ซีดี สมาร์ทโฟน ไอโฟน (iPhone) และกล้องบันทึกภาพแบบเทปวีดีโอ เป็นต้น ทำให้อุตสาหกรรมโสตทัศนวัสดุและสิ่งบันทึกเสียงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และก่อเกิดผลประโยชน์มหาศาลแก่ผู้เป็นเจ้าของกิจการ หลังจากนั้นการค้ายังได้ขยายไปถึงการบันทึกการแสดงสดภาพและเสียงของงานต่าง ๆ หรือวงดนตรี แต่กฎหมายปัจจุบันคุ้มครองเพียงผู้สร้างสรรค์และเจ้าของงานเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองนักแสดงด้วย จึงเกิดกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่ระบุคุ้มครองสิทธิของนักแสดงไว้อย่างชัดเจน
ปัจจุบัน ได้มีการหารือเรื่องสนธิสัญญาเพื่อคุ้มครององค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ (Treaty on the Protection of Broadcasting Organizations) ขององค์กรทรัพย์สิน ทางปัญญาโลก โดยเป็นสนธิสัญญาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการกิจการแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายช่องทางในการประกอบกิจการ และยังเป็นประโยชน์เมื่อมีการดําเนินการซื้อรายการอันมีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ หรือจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีรายการที่น่าสนใจ
การจัดทำสนธิสัญญาดังกล่าว จะมีส่วนช่วยให้ประเทศสมาชิกของ WIPO ซึ่งรวมถึงไทยได้มีส่วนในการกำหนดแนวทางการจัดทำกรอบหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์และจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์รายการ อีกทั้งยังทําให้สามารถเจรจา ขอซื้อลิขสิทธิ์รายการที่น่าสนใจมาออกอากาศได้สะดวก ชัดเจนในการดําเนินการมากยิ่งขึ้น โดยการให้การคุ้มครองเรื่องการแพร่ภาพและเสียง นับเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทยได้
อนึ่ง ที่ผ่านมา ไทยได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามาตั้งแต่อดีต โดยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ จำนวนมาก แม้จะมีทั้งแบบไม่ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา / อนุสัญญา /ความตกลงทั้งหมด หนึ่งในหน้าที่ของ WIPO คือการสร้างเสริมศักยภาพของประเทศกำลังพัฒนาให้มีขีดความสามารถด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ทั้งนี้ ไทยพยายามส่งเสริมให้มีความร่วมมือที่ดีกับ WIPO ในเรื่องดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเราคงต้องติดตามต่อไปว่าการเจรจาในข้อตกลง Broadcasting Organization Treaty ในกลุ่มประเทศสมาชิก WIPO ในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป
Daftar Link Dofollow
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
situs slot demo
slot demo X1000
scatter hitam
slot toto
situs slot online
situs slot online
situs slot online
situs slot
situs slot
situs slot
situs slot
situs slot
sudirman168
sudirman168
sudirman168
sudirman168
slot gacor
situs slot toto
situs toto
situs toto
situs toto
situs toto
slot gacor
slot gacor
toto singapure
situs toto 4d
toto slot 4d
pg soft mahjong2
mahjong2
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
terminalbet
terminalbet
situs slot gacor
data pemilu
utb bandung
universitas lampung
slot bonus new member
ksr88
ksr88
ksr88
ksr88
ksr88
Slot Dana
situs slot gacor hari ini
situs slot gacor
situs toto slot