top of page
  • Writer's picturepmtwmocgoth

ปริมาณการค้าสินค้าลดลงในไตรมาส ที่ 3/2564 สวนทางกับมูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ในไตรมาส 3/2564 ปริมาณการค้า (ทั้งการนำเข้าและการส่งออก) ทั่วโลกลดลง 0.8% (QoQ) หลังจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในสี่ไตรมาสก่อนหน้า ผลจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน การขาดแคลนปัจจัย การผลิต การระบาดของ COVID-19 และจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น


อย่างไรก็ดี แม้ปริมาณการค้าจะลดลงในไตรมาสที่ 3 หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้าแล้ว ปริมาณการค้ายังขยายตัวที่ 11.9% แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของ WTO เมื่อเดือนตุลาคม 2564 ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 12.7% ทั้งนี้ มีการประเมินว่าปริมาณการค้าในปี 2564 ยังสามารถขยายตัวได้ที่ 10.8% ตามคาดการณ์ หากตัวเลขการค้าในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวดีขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ที่ขาดแคลนและติดอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเริ่มคลี่คลาย นอกจากนี้ WTO Goods Trade Barometer ชี้ว่าการค้า ยังมีแนวโน้มที่เป็นบวก แต่อาจชะลอตัวเล็กน้อยในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 โดยมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 สายพันธุ์ Omicron เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวการค้าที่ต้องติดตาม


ในไตรมาส 3/2564 ปริมาณการค้า (ทั้งการนำเข้าและการส่งออก) ทั่วโลกลดลง 0.8% (QoQ) หลังจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในสี่ไตรมาสก่อนหน้า ผลจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน การขาดแคลนปัจจัยการผลิต การระบาดของ COVID-19 และจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น


อย่างไรก็ดี แม้ปริมาณการค้าจะลดลงในไตรมาสที่ 3 หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้าแล้ว ปริมาณการค้ายังขยายตัวที่ 11.9% แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของ WTO เมื่อเดือนตุลาคม 2564 ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 12.7% ทั้งนี้ มีการประเมินว่าปริมาณการค้าในปี 2564 ยังสามารถขยายตัวได้ที่ 10.8% ตามคาดการณ์ หากตัวเลขการค้าในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวดีขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ที่ขาดแคลนและติดอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเริ่มคลี่คลาย นอกจากนี้ WTO Goods Trade Barometer ชี้ว่าการค้ายังมีแนวโน้มที่เป็นบวก แต่อาจชะลอตัวเล็กน้อยในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 โดยมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 สายพันธุ์ Omicron เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวการค้าที่ต้องติดตาม


Source: WTO and UNCTAD.

Note: World trade refers to average of world exports and imports.


ในทางตรงกันข้าม มูลค่าการค้าสินค้าทั่วโลก เพิ่มขึ้น 24% (YoY ในรูปราคาปัจจุบันของดอลลาร์สหรัฐ) ในไตรมาส 3/2564 โดยลดลงเล็กน้อยจากการขยายตัวที่ 46% ในไตรมาส 2/2564 แต่ยังสูงกว่าการขยายตัวที่ 15% ในของไตรมาสแรกของปี ทั้งนี้ การขยายตัวของมูลค่าการค้าในไตรมาส 3 เป็นผลจากราคาส่งออกและนำเข้าของสินค้าหลักที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากไตรมาส 3/2563 นอกจากนี้ ข้อมูลสถิติจาก IMF ชี้ว่าแม้ว่าราคาเชื้อเพลิงลดลงเล็กน้อยในเดือนพฤศจิกายน หลังจากผ่านจุดสูงสุดไปเมื่อตุลาคม 2564 แต่ราคาก็ยังสูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 137% ในส่วนของสินค้ากลุ่มอาหารและกลุ่มโลหะพื้นฐาน ราคาปรับสูงขึ้น 23% (YoY) และ 13% (YoY) ลำดับ รวมถึงราคาสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเช่นเดียวกัน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศปรับตัวสูงขึ้น


หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค ในไตรมาส 3/2564 ปริมาณการส่งออก (QoQ ปรับฤดูกาล) ลดลงในอเมริกาเหนือ (-1.9%) อเมริกากลางและอเมริกาใต้ (-2.5%) ยุโรป (-1.0%) แอฟริกา (-3.8%) และเอเชีย (-1.2%) ขณะที่ ภาพรวมการนำเข้า ลดลงในหลายภูมิภาค อาทิ ยุโรป (-0.5%) แอฟริกา (-0.7%) และเอเชีย (-1.3%) แต่ยังขยายตัวได้ดีในอเมริกาเหนือ (0.4%) อเมริกาใต้ (0.4%) และตะวันออกกลาง (1.6%)


Source: WTO and UNCTAD estimates.


ในมิติรายกลุ่มสินค้า ปริมาณการค้ากว่า 71% เป็นสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรม ขณะที่สินค้าเกษตรกรรม กลุ่มเชื้อเพลิงและสินแร่ และสินค้าอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วน 10% 13% และ 6% ตามลำดับ โดยในไตรมาส 3/2564 ปริมาณการค้าสินค้าอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมขยายตัว 18% (YoY) และ 21% (YoY) ขณะที่การค้าสินค้ากลุ่มเชื้อเพลิงและสินแร่ ขยายตัวในระดับสูงที่ 71% (YoY) จากปัจจัยด้านราคา โดยปริมาณการค้าของสินค้าสำคัญมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เหล็กและเหล็ก (73%) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (26%) ยา (22%) และสารเคมี อื่น ๆ (31%) ยานยนต์ (0%) อุปกรณ์โทรคมนาคม (5%) เสื้อผ้า (5%) และสิ่งทอ (-7%) โดยการชะลอตัว ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยานยนต์และอุปกรณ์โทรคมนาคมเป็นผลจากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้การสายพานการผลิตต้องชะงักงัน ขณะที่ ปริมาณการค้าของสินค้ากลุ่มสิ่งทอซึ่งรวมถึงหน้ากากผ่าตัด ลดลงจากปัจจัยฐานสูง ในช่วงก่อนหน้า


Source: WTO estimates.


อย่างไรก็ดี ปัจจัยเสี่ยง 3 ประการที่อาจส่งผลต่อปริมาณและมูลค่าการค้าในช่วงปลายปี 2564 ได้แก่ (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอก 3 โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อในหลายภูมิภาคเพิ่มขึ้นสูงในไตรมาส 3/2564 ทำให้การทำงานในท่าเรือต้องชะงักลง โดยเฉพาะท่าเรือ Ningbo ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการค้าทั่วโลกในไตรมาสที่ 4 และปี 2565 (2) ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน และ (3) ปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกโดยเฉพาะในสหรัฐ และสหภาพยุโรป ที่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น


แนวโน้มการส่งออกของประเทศไทยในปีพ.ศ. 2565

ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 3.9% ต่อปี โดยมีปัจจัยหลักมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน การใช้จ่ายของประชาชนที่มีแนวโน้มฟื้นตัวทั้งการบริโภคและการลงทุน นอกจากนี้ การผ่อนคลายมาตรการของรัฐจะสนับสนุนการฟื้นตัวของภาค การท่องเที่ยวในระยะต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่ยังมีความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน และภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน


ในด้านการส่งออก ศูนย์วิจัยกรุงศรีฯ คาดการณ์ว่าการส่งออกจะเติบโตต่อเนื่องและเป็นกลไกสำคัญ ทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั่วโลกและประเทศคู่ค้า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ซึ่งจะมีผลในต้นปี พ.ศ. 2565 จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการค้าและการส่งออก นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการฟื้นฟู รวมถึงการยกระดับการผลิตให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่การผลิตและการส่งออกจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยในที่สุด ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงของอุปทานและวัตถุดิบขาดแคลน และมาตรการการค้าระหว่างประเทศ ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

Source:

75 views
bottom of page