WTO กับความคืบหน้าในการส่งเสริมความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade)
- pmtwmocgoth
- Feb 22, 2022
- 1 min read

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 WTO ได้มีการจัดการประชุมความช่วยเหลือเพื่อการค้า ครั้งที่ 54 (Fifty-fourth Session on Aid for Trade) ภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (Committee on Trade and Development) โดยที่ประชุมได้มีโอกาสร่วมกันในการหารือเพื่อทบทวนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพื่อการค้าประจำปี 2565 ของประเทศสมาชิก WTO และความคืบหน้าในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือเพื่อการค้าของประเทศสมาชิก องค์การระหว่างประเทศ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ที่ผ่านมา WTO ได้มีการจัดทำรายงานการทบทวนความช่วยเหลือเพื่อการค้ามาโดยตลอด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับลำดับความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการรับและการให้ความช่วยเหลือเพื่อการค้า นโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและด้านการส่งเสริมสตรีในทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก โดยสำหรับในปีนี้ ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก เกี่ยวกับการจัดทำรายงานการทบทวนความช่วยเหลือเพื่อการค้าประจำปี ๒๕๖๕ (Aid for Trade Global Review 2022) เช่นเดิม โดยนอกจากจะพิจารณารวบรวมและวิเคราะห์ด้านนโยบายต่าง ๆ ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังจะได้มีการจัดทำบทวิเคราะห์เรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจและการค้าที่สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วย ทั้งนี้ การจัดทำรายงานดังกล่าว ทาง WTO ได้ขอให้ประเทศสมาชิกได้ตอบแบบสำรวจเพื่อนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ โดยมีกำหนดเผยแพร่ในช่วง ฤดูร้อนของปี 2565
นอกจากนี้ ระหว่างการประชุมฯ ที่ประชุมยังได้ใช้โอกาสในการรับฟังรายงานและหารือร่วมกันเกี่ยวกับ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Implementation of Aid-for-Trade Work Activities) ด้วย โดยในส่วนของประเทศสมาชิกนั้น มีหลายประเทศได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินงานเรื่องนี้ให้ที่ประชุม ได้รับทราบ เช่น จีน ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาและ LDCs รวมถึงการบริจาควัคซีนกว่า 2 พันล้านโดสทั่วโลก ขณะที่เกาหลีใต้ ได้รายงานการให้ความช่วยเหลือแก่ MSMEs ในภูมิภาคแอฟริกาด้านเทคโนโลยีและการทำธุรกิจการเกษตรภายใต้โครงการ NTG V Program และรัสเซีย ได้รายงานถึงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศกำลังพัฒนาผ่านหน่วยงานของสหประชาชาติและการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้ากับทวีปแอฟริกาโดยผ่านกลไก การประชุม Russia-Africa Summit นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้รายงานให้ทราบถึงโครงการ PROSPER African Initiative ซึ่งมีส่วนช่วยในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับภาคธุรกิจในทวีปแอฟริกาด้วย
ระหว่างการประชุมฯ สถาบันการเงินระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นพันธมิตร การดำเนินงานร่วมกับ WTO ก็ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูลด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก อาทิเช่น ธนาคารโลก (World Bank) ได้ใช้โอกาสนี้ รายงานสรุปแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและความท้าทายที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องเผชิญในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ให้ที่ประชุมได้รับทราบ และชี้ให้เห็นว่า ความท้าทายดังกล่าวสามารถบรรเทาได้หากมีการกระจายวัคซีนโรคโควิด-19 อย่างรวดเร็วและเท่าเทียม รวมถึงการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเสริมสร้างความร่วมมือระดับโลก โดยเฉพาะ การกำกับดูแลทางการค้า
ขณะที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า สถานการณ์การค้าในเอเชียคาดว่า จะกลับฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในปี 2565 จะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 5.3 ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ADB ได้ดำเนินการโดยให้การสนับสนุนเงินกู้ เงินช่วยเหลือ ความช่วยเหลือทางวิชาการ รวมถึง การรณรงค์การฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา และการสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อการค้าที่เกี่ยวข้องกับ New Digital Economy ด้วย
นอกจากนี้ หน่วยงานอื่น ๆ อาทิ The Islamic Trade Finance Corporation (ITFC) ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่หลายโครงการ อาทิ โครงการสะพานการค้าอาหรับ-แอฟริกา และการสนับสนุนโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในโมร็อกโก ขณะที่ OECD ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม Peer Learning Event on Aid for Trade เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเน้นการให้ความสำคัญกับโครงการด้านการพัฒนาศักยภาพแก่ประเทศกำลังพัฒนา และ The International Trade Center (ITC) ได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘ ซึ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่กลุ่ม MSMEs
ขณะที่ Enhanced Integrated Framework (EIF) ได้มีการนำเสนอภาพรวมของโครงการด้านการค้าที่สนับสนุนกลุ่มประเทศ LDCs โดยยกตัวอย่างติมอร์เลสเต ซึ่ง EIF ได้สนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มอำนาจและบทบาททางเศรษฐกิจของสตรี และโครงการประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยีในลาวและเซเนกัล เป็นต้น และ The Standards and Trade Development Facility (STDF) ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคู่มือ Guide of Good Regulatory Practices (GRP) ซึ่ง STDF ได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ โดยเน้นสาระเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎระเบียบและการดำเนินการภายในให้สอดคล้องกับมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ระหว่างประเทศ และข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ Food Inspection Through Virtual School โดยร่วมมือกับองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization) เพื่อพัฒนาบุคลากรและเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบ ด้านความปลอดภัยของอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร และการเพิ่มอำนาจและบทบาททางเศรษฐกิจของสตรีในประเทศกำลังพัฒนา เป็นต้น
Daftar Link Dofollow
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
situs slot demo
slot demo X1000
scatter hitam
slot toto
situs slot online
situs slot online
situs slot online
situs slot
situs slot
situs slot
situs slot
situs slot
sudirman168
sudirman168
sudirman168
sudirman168
slot gacor
situs slot toto
situs toto
situs toto
situs toto
situs toto
slot gacor
slot gacor
toto singapure
situs toto 4d
toto slot 4d
pg soft mahjong2
mahjong2
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
terminalbet
terminalbet
situs slot gacor
data pemilu
utb bandung
universitas lampung
slot bonus new member
ksr88
ksr88
ksr88
ksr88
ksr88
Slot Dana
situs slot gacor hari ini
situs slot gacor
situs toto slot