top of page
  • Writer's picturepmtwmocgoth

WTO เร่งออกมาตรการเอื้อ MSMEs รับมือวิกฤตCOVID-19


สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างรุนแรง ส่วนหนึ่งมาจากการปิดเมืองหรือล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมการระบาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกับ

ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อยและขนาดเล็ก หรือ MSMEs ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์

ดังกล่าวมากด้วยเช่นกัน


เป็นที่ทราบกันอย่างดีว่า MSMEs ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจโลก โดยโดยผู้ประกอบการ MSMEs

มีจำนวนมากถึงร้อยละ 95 ของวิสาหกิจทั่วโลก และมีส่วนสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีของประเทศพัฒนาแล้วถึงร้อยละ 50 และประเทศกำลังพัฒนา อีกร้อยละ 35 จึงถือว่า MSMEs มีความสำคัญต่อห่วงโซ่ การผลิตของแต่ละประเทศ


โดยคำนึงถึงผลกระทบที่ MSMEs ทั่วโลกได้รับอย่างหนักจากการระบาดของโรค COVID-19 สมาชิก WTO บางส่วนจึงได้รวมตัวกันในนามกลุ่ม MSMEs ประกาศที่จะให้การสนับสนุนในการอำนวยความสะดวก

ด้านการค้าแก่ MSMEs ที่กำลังเผชิญสถานการณ์การดังกล่าวเพื่อให้สามารถรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ

โดยสมาชิกกลุ่ม MSMEs ได้เสนอให้ประเทศสมาชิกของ WTO ดำเนินนโยบายด้านการค้าที่เอื้ออำนวยต่อ

การค้าเสรี เป็นธรรม และอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนเร่งรัดให้เกิดการค้าแบบดิจิทัล

และปรับปรุงการเข้าถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดหรือ LDCs รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ MSMEs ที่ได้รับผลกระทบให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้


ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 International Trade Center หรือ ITC ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนด้านการค้าระหว่างประเทศ และ WTO พร้อมด้วยกลุ่มประเทศอาเซียน อาทิ ฟิลิปปินส์ ลาว มาเลเซีย บูรไน สิงคโปร์ และไทย ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องหัวข้อ “การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ MSMEs ในการค้าระหว่างประเทศ” ที่นครเจนีวา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับความสำเร็จและ

ความท้าทายของประเทศต่าง ๆ และการมีส่วนร่วมของMSMEs ในระบบการค้าระหว่างประเทศ


นาง Arancha Gonzalez จาก ITC ได้ให้ความเห็นว่า กฏระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศควรเอื้อ

ต่อการดำเนินธุรกิจของ MSMEs ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และควรให้มีการใช้ประโยชน์จากความช่วยเหลือทางการค้า หรือ Aid of Trade เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทขนาดเล็กจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการค้าระหว่างประเทศได้จริง ขณะที่ ผู้บริหาร WTO เห็นว่า การดำเนินการตามความตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้าของ WTO หรือTFA จะช่วยลดเวลาและต้นทุนในการผ่านพิธีการด้านการส่งออก ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ MSMEs

สามารถส่งออกเพิ่มขึ้นได้


ขณะที่ นาง Pamela Coke-Hamilton ผู้บริหารของ ITC ให้ความเห็นว่า ข้อเสนอของกลุ่ม MSMEs

มีความมุ่งมั่นที่จะแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาลของประเศสมาชิกและของ WTO

เพื่อพัฒนาระบบการค้าระหว่างประเทศให้ครอบคลุมมากขึ้น และจะช่วยให้ MSMEs สามารถปรับตัวได้และ

นำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ


ข้อเสนอของกลุ่ม MSMEs ดังกล่าวได้รับการรับรองโดยสมาชิก WTO รวม 91 ประเทศ โดยมีเนื้อหาสำคัญ ได้แก่

  1. การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ MSMEs ในระหว่างกระบวนการทบทวนนโยบายการค้าของ WTO โดยเรียกร้องให้สมาชิก WTO จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ MSMEs ในระหว่างการทบทวนนโยบายการค้าของ WTO เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและเป็นแหล่งของแนวปฏิบัติที่ดี (เช่น จำนวน MSMEs ในระบบเศรษฐกิจและส่วนแบ่งการค้าระหว่างประเทศหรือโครงการที่สนับสนุน MSMEs เพื่อการค้า)

  2. การเข้าถึงข้อมูล โดยสนับสนุนการจัดตั้ง Global Trade Helpdesk ซึ่งดำเนินการร่วมกันระหว่าง ITC UNCTAD และ WTO เพื่อช่วยให้ MSMEs เข้าถึงข้อมูลทางการตลาด รวมถึงภาษีและกฎระเบียบต่าง ๆ

  3. การอำนวยความสะดวกทางการค้าสำหรับ MSMEs โดยเรียกร้องให้สมาชิก WTO ดำเนินการตาม ความตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้า และให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สามารถช่วยเหลือ MSMEs และให้พิจารณาใช้ระบบศุลกากรดิจิทัล

  4. ส่งเสริมให้ MSMEs มีส่วนร่วมในการพัฒนากฎระเบียบ เนื่องจากกฎระเบียบทางการค้าใหม่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจ โดยเฉพาะกับ MSMEs ดังนั้น จึงควรให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดเล็ก และให้มีการปรึกษาหารือกับ MSMEs ก่อนดำเนินการตามกฎระเบียบทางการค้าใหม่

  5. สนับสนุนให้มีการจัดทำฐานข้อมูลแบบบูรณาการ (Integrated Database - IDB) เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลด้านภาษีศุลกากรและข้อมูลการค้าของ WTO เพื่อช่วยให้ MSMEs เข้าถึงข้อมูลที่เชื่อถือได้และครอบคลุมเกี่ยวกับภาษีศุลกากรและข้อมูลการเข้าถึงตลาดอื่น ๆ โดยให้มีการปรับปรุงข้อมูลของ IDB ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

  6. การเข้าถึงการเงินและการชำระเงินข้ามพรมแดน โดยเรียกร้องให้สมาชิกแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ เพื่อใช้ในการกำหนดระบุมาตรการที่เกี่ยวข้องในอนาคต

ขณะที่ นาย Jose Luis Cancela เอกอัครราชทูต WTO ประเทศอุรุกวัย ได้กล่าวย้ำว่า MSMEs จะต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อมีส่วนร่วมในการค้าระหว่างประเทศ หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดใหญ่

ของโรค COVID-19 การดำเนินการตามข้อเสนอของกลุ่ม MSMEs แสดงให้เห็นว่า WTO ห่วงใย

และพร้อมจะช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการ MSMEs เหล่านั้น ในการเผชิญกับความไม่แน่นอน อันเป็นผลมาจากสภาวะตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การเข้าถึงข้อมูลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ประโยชน์

จากโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่ในตลาดโลก


ทั้งนี้ กล่าวโดยสรุป WTO ถือว่า MSMEs เป็นหัวใจสำคัญของระบบการค้าของโลก และ แม้ว่า MSMEs

จะเป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศ แต่กลับไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศหรือได้รับผลประโยชน์ทางการค้าในระดับเดียวกับบริษัทขนาดใหญ่เสมอไป ดังนั้น การลดอุปสรรค

ด้านการค้าและผลักดันให้ MSMEs ได้มีส่วนร่วมในระบบการค้าระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญและได้รับการผลักดันจากประเทศสมาชิก WTO เพิ่มมากขึ้น


อ้างอิง

143 views0 comments

Comentarios


bottom of page