องค์กรระหว่างประเทศหารือถึงวิธีปรับปรุงการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิดและปรับปรุงมาตรการรับมือต่าง ๆ
- pmtwmocgoth
- Mar 16, 2022
- 1 min read

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กลุ่มธนาคารโลก องค์การอนามัยโลก และองค์การการค้าโลก เข้าพบและหารือในระดับสูงกับองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) และองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนกาวี (GAVI) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 และมาตรการทางการแพทย์ที่สำคัญอื่น ๆ ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ (Low Income Countries: LICs) และรายได้ปานกลางถึงต่ำ (Low-to-Medium Income Countries: LMICs) ตลอดจนช่วยให้ประเทศต่าง ๆ มีความพร้อมที่จะเข้าถึงและ มีการแจกจ่ายวัคซีนได้ดีขึ้น
ในปัจจุบันนั้น ประชาชนในประเทศที่มีรายได้ต่ำ (LICs) มีเพียง 5% เท่านั้น ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 โดส และใน ประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำ (LMICs) นั้น ก็มีเพียงประมาณ 30% ที่ได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนในระดับนานาชาติ และบรรลุเป้าหมายระดับโลกในการฉีดวัคซีนให้ได้ถึง 70% ของประชากรในทุกประเทศภายในกลางปีพ.ศ. 2565 COVAX (COVID-19 Vaccines Global Access) และ AVAT (African Vaccine Acquisition Trust) จึงมีความต้องการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นและจะช่วยแก้ไข การกระจายอย่างไม่ทั่วถึงของวัคซีนในประชากรได้
โดยเหตุดังกล่าว ส่งผลให้มีการผลักดันให้ ลด/ยกเลิก ข้อจำกัดในการส่งออกและข้อจำกัดทางการค้าและ การส่งออก เพื่อให้ประเทศผู้ส่งออกวัคซีนและเครื่องมือป้องกันโควิดอื่น ๆ สามารถให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในกลุ่ม LICs และ LMICs ได้เพิ่มเติม
เพื่อเพิ่มความพร้อมและการเข้าถึงวัคซีนของประเทศในกลุ่ม LICs และ LMICs นั้น WTO เน้นย้ำว่า เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลในประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงแล้ว จะช่วยเหลือประเทศอื่น ๆ ในประเด็นดังต่อไปนี้:
ดำเนินการกระจายการบริจาควัคซีนตามคำมั่นสัญญา เพื่อทำให้ COVAX สามารถรับวัคซีนที่ต้องการได้ในเวลาอันสั้น
ให้อิสระผู้ผลิตจากสัญญาในการแลกเปลี่ยนและส่งมอบ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถเร่งผลิตวัคซีนให้กับ COVAX, AVAT และประเทศที่มีอัตราการได้รับวัคซีนในระดับต่ำลำดับแรก
นอกจากนี้ยังได้มีการกระตุ้นเตือนไปยังรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่มีอัตราการได้รับวัคซีนต่ำ ให้ปฏิบัติในแนวทางดังต่อไปนี้:
สั่งซื้อวัคซีนเพิ่มเติมทันทีผ่านทาง AVAT หรือ COVAX หรือทั้งสองทางควบคู่กันไป
สร้างความพร้อมในการฉีดวัคซีนให้เพิ่มขึ้นในประเทศ เพื่อให้สามารถฉีดวัคซีนได้รวดเร็วขึ้นเมื่อมีการบริจาคเพิ่มขึ้น
ประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพและการเงินเพื่อใช้ทรัพยากรของธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี เพิ่มขึ้น ซึ่งพร้อมสำหรับการซื้อและปรับใช้วัคซีนในอนาคตอันใกล้
มีการคาดการณ์ว่าวัคซีนสำหรับป้องกันโควิด-19 จะมาถึง LICs และ LMICs จากทั่วโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในเรื่องนี้ ทาง WTO ได้แสดงความยินดีที่จะร่วมมือกับ UNICEF WHO และ GAVI ในฐานะของผู้ประสานงานหลักระดับโลก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งมอบวัคซีนจากประเทศผู้ผลิตวัคซีนต่าง ๆ และเสริมสร้าง ความพร้อมในการแจกจ่ายวัคซีนในประเทศปลายทาง ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ในการใช้งานวัคซีนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
WTO และบทบาทในการลดผลกระทบจาก COVID-19 ต่อเศรษฐกิจ
ในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 WTO ทำหน้าที่เป็น "จุดศูนย์กลางการดำเนินการ" โดยช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในด้านการตอบสนองนโยบายและลดต้นทุนการทำธุรกรรมของการค้า โดยยังคงเปิดกว้างและอนุญาตให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมกันตรวจสอบนโยบาย และสามารถดำเนินนโยบายการค้าแบบทวิภาคีเพื่อให้สิทธิประโยชน์ในการลดภาษีนำเข้าระหว่างกันได้ นอกจากนี้ กลไกการทบทวนนโยบายการค้าช่วยติดตามนโยบายของสมาชิกโดยรวม ทำให้แน่ใจว่าการระบาดใหญ่ที่กำลังดำเนินอยู่จะไม่ถูกใช้เป็นเหตุผลในการดำเนินการกีดกันทางการค้าหรือมาตรการจำกัดทางการค้า ซึ่งจะฝ่าฝืนพันธกรณีทางการค้าของประเทศต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
WTO ยังมีความพยายามในการผลักดันให้เกิดการส่งต่อและการกระจายของวัคซีนจากประเทศผู้ผลิตและประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนได้ครอบคลุม ไปสู่ประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ โดยกลุ่มประเทศผู้ผลิตวัคซีนหลักอย่างประเทศในเครือสหภาพยุโรป (European Union: EU) และ ประเทศจีน มีอัตราการส่งออกวัคซีนสูงถึง 1,979.8 ล้านโดส และ 1,698.1 ล้านโดส ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศที่นำเข้าวัคซีนในกลุ่ม LICs และ LMICs นั้นมีอัตราการนำเข้าวัคซีนที่ 290.3 ล้านโดส และ 1,746.7 ล้านโดส ตามลำดับ ซึ่งถือว่ายังน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง (Upper Middle Income Countries: UMICs) ที่นำเข้าวัคซีนกว่า 1,982.7 ล้านโดส (ข้อมูลเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2565) ทำให้เกิดเป็นความพยายามในการผลักดัน การกระจายของวัคซีนขึ้น
Source:
Daftar Link Dofollow
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
situs slot demo
slot demo X1000
scatter hitam
slot toto
situs slot online
situs slot online
situs slot online
situs slot
situs slot
situs slot
situs slot
situs slot
sudirman168
sudirman168
sudirman168
sudirman168
slot gacor
situs slot toto
situs toto
situs toto
situs toto
situs toto
slot gacor
slot gacor
toto singapure
situs toto 4d
toto slot 4d
pg soft mahjong2
mahjong2
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
terminalbet
terminalbet
situs slot gacor
data pemilu
utb bandung
universitas lampung
slot bonus new member
ksr88
ksr88
ksr88
ksr88
ksr88
Slot Dana
situs slot gacor hari ini
situs slot gacor
situs toto slot
situs toto
Sudirman168
Slot Gacor
Link Slot Gacor
Situs Slot Online
slot demo
demo slot
It's great to see the WHO, WIPO, and WTO coming together to tackle the global challenges of the pandemic. Their focus on equitable access to vaccines and medical technologies will go a long way in ensuring that no country is left behind. Collaboration is key, and it’s inspiring to see such efforts being made. On a side note, if you're looking for some light entertainment while keeping up with global events, check out "sbotop" for a fun distraction!