พัฒนาการการหารือเรื่องมาตรการ CBAM ในเวทีของ WTO
- pmtwmocgoth
- Aug 3, 2023
- 2 min read

ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ได้มีการหารือในเรื่องของมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) ภายใต้กรอบคณะกรรมการการค้าและสิ่งแวดล้อม (Committee on Trade and Environment: CTE) และคณะกรรมการว่าด้วยการเข้าสู่ตลาด (Committee on Market Access: CMA) โดยสหภาพยุโรปได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าของมาตรการและประเทศสมาชิกได้แสดงความเห็นต่อการบังคับใช้มาตรการของสหภาพยุโรปอย่างหลากหลาย
ภายใต้กรอบคณะกรรมการการค้าและสิ่งแวดล้อม ในการประชุมเมื่อวันที่ 14-15 มีนาคม 2566 และวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ฝ่ายสหภาพยุโรปได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงความคืบหน้าในส่วนของนโยบาย EU Green Deal ในภาพรวม พร้อมแจ้งว่า เมื่อเดือนธันวาคม 2565 สมาชิกรัฐสภายุโรป ได้บรรลุข้อตกลงบังคับใช้มาตรการ CBAM เพื่อให้เริ่มใช้กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
ซึ่งในช่วงวันประชุมดังกล่าว มีหลายประเทศได้กล่าวถึงประเด็นข้อห่วงกังวล อาทิ เช่น (1) กลุ่มแอฟริกัน ได้หยิบยกประเด็นเรื่องการคำนวณราคาคาร์บอนว่า จะส่งผลต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมแท้จริงหรือไม่ และการออกมาตรการควรคำนึงถึงหลัก polluter-pays และหลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง common but differentiated responsibility และสหภาพยุโรปควรจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่แอฟริกาในช่วงเปลี่ยนผ่านด้วย (2) กลุ่ม ACP ได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปนำเสนอวิธีการในการรายงาน carbon emission และสอบถามถึงแนวทางในการช่วยเหลือผู้ส่งออกกลุ่ม SMEs (3) กลุ่ม LDC ได้สอบถามถึงผลกระทบต่อประเทศ LDCs ในระยะสั้น กลาง และยาว และเน้นเรื่องหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง common but differentiated responsibility (4) เกาหลีใต้เห็นว่า CBAM และระเบียบอื่น ๆ ภายใต้นโยบาย EU Green Deal ควรดำเนินการหารือผ่านระบบพหุภาคี และไม่ควรดำเนินการในรูปแบบของ unnecessary barriers to trade ทั้งนี้ ทางฝ่ายเกาหลีแสดงความกังวลมากว่า CBAM จะสอดคล้องกับหลักการของ WTO หรือไม่ โดยเฉพาะหากบริษัทต่างชาติที่ไม่ได้อยู่ในระบบของ EU-ETS ซึ่งอาจทำให้ไม่สอดคล้องกับหลัก National Treatment และอาจเข้าข่ายการจำกัดการนำเข้า (Quantitative restrictions on imports) พร้อมแจ้งว่า จากการหารือในการสัมมนา Trade Forum for Decarbonization Standards ในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า (Steel Industry) ที่ผ่านมา มีผู้แทนจากอุตสาหกรรมเหล็กแสดงความกังวลว่า CBAM จะทำให้เกิดต้นทุนการบริหาร (administrative costs and burden) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการลงทุนและความพยายามในการลดคาร์บอนในภาคส่วนธุรกิจอื่น ๆ รวมถึง CBAM อาจจะมองข้ามหรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับความพยายามในการลดคาร์บอนของประเทศอื่น ๆ และเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างในแต่ละประเทศ อีกทั้งยังมีความแตกต่างของ international standard ในการวัดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า (embedded emissions) (5) บราซิลได้แสดงความกังวลว่า CBAM อาจมีผลเป็น negative impact ต่อการค้าระหว่างประเทศ และขอให้ยึดหลักการของ UNFCCC และ common but differentiated responsibility และ (6) ไทยได้แสดงความกังวลใจในเรื่องของความสอดคล้องกับหลักการของ GATT และหลักการของหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ ที่สำคัญในกรอบการประชุมคณะกรรมการการค้าและสิ่งแวดล้อม ได้มีการจัดงาน Trade and Environment Week 2023 ในช่วงระหว่างการประชุมเดือนมิถุนายน โดยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ผู้แทนจากสหภาพยุโรปได้มาบรรยายเกี่ยวกับมาตรการ CBAM
โดยผู้แทนจากสหภาพยุโรปได้เน้นภาพรวมของมาตรการ CBAM ว่า ให้ความสำคัญกับปริมาณการปล่อยก๊าซในกระบวนการผลิตสินค้า (actual carbon content) โดยไม่ได้ตั้งเป้าที่จะกีดกันประเทศต่าง ๆ และมาตรการ CBAM เกี่ยวข้องกับบริษัทต่าง ๆ ใน 3 เรื่องหลัก คือ เรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (actual carbon content) เรื่องปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่อนุญาตให้ปล่อยได้ (free carbon allocations of EU ETS allowances) และราคาซื้อขายคาร์บอนที่ในประเทศผู้ผลิต รวมทั้งยังเน้นว่า CBAM เป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (emission) ไม่ได้เป็นมาตรการทางภาษีหรือจำกัดการนำเข้า
นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึง timeline ของการจะบังคับใช้มาตรการ CBAM ซึ่งจะมีการทบทวนในเรื่องต่าง ๆ ในปี 2568 และเริ่มการบังคับใช้ระเบียบจริงในช่วงปี 2569 โดยจะไม่มีการใช้ free ETS allocation พร้อมยังได้กล่าวถึง รายชื่อประเทศที่ส่งออกสินค้า 6 ประเภทภายใต้ CBAM มายังสหภาพยุโรปด้วย
โดยจะเห็นว่า ในส่วนของด้านสินค้าเหล็กและเหล็กกล้า ประเทศที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ จีน ตุรกี อินเดีย ส่วนของการส่งออกอลูมิเนียม ประเทศที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ นอร์เวย์ จีน ตุรกี ส่วนของปุ๋ย ประเทศที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ รัสเซีย แอลจีเรีย และอียิปต์ ส่วนของซีเมนต์ ประเทศที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ตุรกี สหรัฐฯ และอังกฤษ ส่วนของไฟฟ้า ประเทศที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ อังกฤษ เซอร์เบีย และนอ์เวย์ และส่วนของไฮโดรเจน ประเทศที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปมากที่สุด 3 ลำดับแรก มากที่สุดคือ อังกฤษ เซอร์เบีย และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งทางสหภาพยุโรปได้ตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดใหญ่ ไม่ใช่ประเทศขนาดเล็ก และประเภทของสินค้าก็เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ SMEs

ในช่วงของการตอบคำถาม (Q&A) ได้มีการตั้งคำถามจากผู้แทน/ผู้ประกอบการจากประเทศต่าง ๆ ในประเด็น ต่าง ๆ เช่น มีผู้สอบถามถึงการคำนวน CBAM ทั้ง process และการ verify เรื่อง carbon emission ในประเทศภายหลังปี 2569 การสอบถามถึงต้นทุน (cost) ของคาร์บอนที่ซื้อขายในตลาด ETS ของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน ว่าจะใช้ในการคำนวนอย่างไร ซึ่งทางผู้แทนสหภาพยุโรปให้ความเห็นว่า การคำนวนไม่ได้ ไม่ได้มีความซับซ้อน (complex) มาก จะคำนวณโดยใช้ปัจจัยที่มีการปล่อยคาร์บอนออกมา นอกจากนี้ หลายประเทศก็ได้มีการติดตามและคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซในแต่ละอุตสาหกรรมอยู่แล้ว ซึ่งทางสหภาพยุโรปก็จะดูปัจจัยนี้ประกอบด้วย และทางสหภาพยุโรปจะยึดการคำนวนจากระบบ EU-ETS เป็นหลัก ทั้งนี้ การ verification สามารถทำได้โดย local หรือ international verifiers ยกเว้นอาจมีบางกรณี อาจต้องมีหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย (authorities) ที่จะให้การ verify เป็นการเฉพาะ (ซึ่งข้อมูลที่ได้มีการหารือนี้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูที่ YouTube ของ WTO Services)
สำหรับกรอบอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการว่าด้วยการเข้าสู่ตลาด (Committee on Market Access: CMA) ที่ประชุม เมื่อวันที่ 26-27 เมษายน 2566 ได้มีประเทศสมาชิกหยิบยกประเด็นแสดงความห่วงกังวล ซึ่งคล้ายคลึงกับที่ประชุมคณะกรรมการการค้าและสิ่งแวดล้อม
กล่าวโดยสรุป ในกรอบการประชุมภายใต้ WTO มีหลายประเทศ แม้จะไม่ได้เป็นประเทศที่ส่งออกสินค้า 6 ประเภท ไปยังสหภาพยุโรปจำนวนมาก แต่ก็ได้แสดงความกังวลในเรื่องการบังคับใช้มาตรการ CBAM โดยเฉพาะหลักการในเรื่องของการค้าพหุภาคี ซึ่งควรเป็นเรื่องของการใช้กฎระเบียบที่เป็น fair and free trade หลักการของการไม่เลือกปฏิบัติ หลักการของการไม่ใช้มาตรการฝ่ายเดียว (unilateral) ซึ่งเป็นหลักการภายใต้ WTO รวมถึงหลักการภายใต้ความตกลง UNFCCC และ Paris Agreement และความกังวลในการขยายวงของประเภทสินค้าให้มากขึ้นในอนาคต ขณะที่ จะสังเกตได้จากการประชุมช่วง Trade and Environment Week ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากประเทศอื่น ๆ ที่จะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบของมาตรการ CBAM อาจมีความกังวลเกี่ยวกับ การปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเรื่องการคำนวณ ที่อาจมีพื้นฐานการคำนวณและต้นทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้ เป็นจุดหนึ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาจพิจารณาในเรื่องของการแบ่งปันข้อมูลในเรื่องการคำนวนตามระบบที่มีการซื้อขาย carbon credit ของไทยกับฝ่ายสหภาพยุโรปเพื่อให้ได้มีความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ และหน่วยงานของรัฐที่จะ verify เรื่อง carbon emission ต่อไป
Daftar Link Dofollow
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
lapak7d
situs slot demo
slot demo X1000
scatter hitam
slot toto
situs slot online
situs slot online
situs slot online
situs slot
situs slot
situs slot
situs slot
situs slot
sudirman168
sudirman168
sudirman168
sudirman168
slot gacor
situs slot toto
situs toto
situs toto
situs toto
situs toto
slot gacor
slot gacor
toto singapure
situs toto 4d
toto slot 4d
pg soft mahjong2
mahjong2
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
pocari4d
terminalbet
terminalbet
situs slot gacor
data pemilu
utb bandung
universitas lampung
slot bonus new member
ksr88
ksr88
ksr88
ksr88
ksr88
Slot Dana
situs slot gacor hari ini
situs slot gacor
situs toto slot