วาระการพัฒนา 2030 ของสหประชาชาติ (United Nation: UN) ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาของประชาคมโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนเอาไว้โดยครอบคลุมกว่า 17 เป้าหมาย หรือที่เรียกว่า “เป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)” โดยหนึ่งในเป้าหมาย การพัฒนาที่ประชาคมโลก
ได้ร่วมกันปักหมุดไว้เพื่อก้าวไปให้ถึง คือ การพัฒนาไปสู่ความเท่าเทียมระหว่างเพศ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิง
องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมผลักดัน วาระการพัฒนา 2030 ให้ไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สำเร็จ โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 5 นั่นคือ
การมุ่งสู่การบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิง โดยภายใต้
การดำเนินการของ WTO มีบริบทที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ 5 ได้แก่
การยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อสตรีและเด็กผู้หญิงในทุกที่
การสร้างหลักประกันว่า สตรีจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และเท่าเเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับที่มีส่วนใน การตัดสินใจในทางการเมือง เศรษฐกิจ และภาคสาธารณะ
การกำหนดนโยบายเสริมความเข้มแข็งแก่สตรีและเด็กหญิงทุกคนในทุกระดับ
ทั้งนี้ ภารกิจของ WTO ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมความเข้มแข็งแก่สตรีปรากฏอยู่ ในอารัมภบทของความตกลงมาร์ราเกชว่าด้วยการจัดตั้งองค์การการค้าโลก (Marrakesh Agreement Establishing The World Trade Organization) ซึ่งได้ย้ำถึงความสำคัญของ WTO ในฐานะหนึ่งในหน่วยงานหลักที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนา
ที่ยั่งยืน ว่า WTO มีภารกิจที่จะต้อง‘ยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต’ และสร้างให้เกิดการใช้ทรัพยากรของโลก
อย่างเหมาะสมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงจะให้ความสำคัญกับสร้างเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและ
การค้าที่เท่าเทียมและครอบคลุม ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
ที่ผ่านมา เพื่อให้พันธกิจดังกล่าวของ WTO บรรลุผล ได้มีการจัดทำข้อริเริ่มความช่วยเหลือเพื่อการค้า
(Aid for Trade) โดยกำหนดให้มีการให้ความช่วยเหลือด้านการค้าที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และได้ผลักดันการค้าของโลกให้เท่าเทียมและครอบคลุม ซึ่งที่ผ่านมาได้พิสูจน์ชัดว่า การค้ามีส่วนสำคัญในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนนับล้านให้หลุดพ้นจากความยากจน นอกจากนี้ WTO ยังได้มองหาความร่วมมือ
ในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากโอกาสทางการค้าที่ขยายออกไปมาก ยิ่งขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรี และกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กต่าง ๆ
คำถามสำคัญคือ การค้าช่วยกระจายโอกาสและสนับสนุนการมุ่งสู่ความสำเร็จของ SDGs เป้าหมายที่ 5
ว่าด้วยการบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศได้อย่างไร? แท้จริงแล้ว การบรรลุความเท่าเทียม ระหว่างเพศเกิด
จากการสร้างโอกาสในการจ้างงานให้แก่สตรี และเพิ่มพื้นที่ในการมีส่วนร่วมของสตรีในโครงสร้างเศรษฐกิจ
เมื่อสตรีมีงานทำและมีรายได้ นั่นหมายถึง กลุ่มสตรีดังกล่าวได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต ของคนรวมถึงสถานะ
ทางสังคมและอำนาจในการต่อรองในครอบครัวที่เพิ่มตามมาด้วย ซึ่งสิ่งนี้รู้จักกันดีในนามของ “อำนาจของการควบคุมกระเป๋าเงิน” นั้นเอง
นอกจากนี้ จากผลการศึกษาของธนาคารโลกพบว่า ผู้หญิงสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
โดยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ที่ได้รับ สตรีส่วนใหญ่ได้นำไปลงทุน และนำไปใช้จ่ายในครอบครัวและชุมชน
โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา และสุขภาพ ดังนั้น การเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจของสตรีจึงเป็นเสมือนปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "Snowball Effect" ต่อสังคมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้คน
รอบตัว และนำไปสู่การลดความยากจน ในท้ายที่สุด ขณะเดียวกัน ในระยะยาว ผลของเรื่องดังกล่าวจะนำไปสู่
การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสังคมและ การปรับปรุงสิทธิของสตรีต่อไปในที่สุด
Comentários