top of page
  • Writer's picturepmtwmocgoth

อีกมิติหนึ่งของท่านทูตวีรชัยกับองค์การการค้าโลก (WTO)



โดยทั่วไป คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักท่านทูตวีรชัยในด้านการดำเนินคดีปราสาทพระวิหาร แต่จะมีสักกี่คนที่ได้รู้จักบทบาทของท่านทูตวีรชัยเกี่ยวกับการะระงับข้อพิพาทด้านการค้าระหว่างประเทศ


เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่า การค้าระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศต่างๆ ในขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งความขัดแย้งกันซึ่งเป็นที่ประจักษ์ได้ในปัจจุบัน เมื่อมีข้อพิพาทด้านการค้าระหว่างประเทศ องค์การการค้าโลกก็มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขระงับข้อพิพาทระหว่างสมาชิก โดยผู้มีบทบาทสำคัญในการระงับข้อพิพาทได้แก่ คณะผู้พิจารณา (Panel) ซึ่งเปรียบเสมือนผู้ตัดสินในคดีในชั้นต้นขององค์การการค้าโลก ท่านทูตวีรชัยเข้ามามีบทบาทสาคัญในการหาทางออกเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างสมาชิก WTO


ในช่วงปี ค.ศ. 1990 ท่านทูตวีรชัยได้รับมอบหมายให้มาประจำการอยู่ที่คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ณ นครเจนีวา โดยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประชุมขององค์กรระงับข้อพิพาท ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสั่งสมประสบการณ์และบ่มเพาะความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศและความตกลงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ


หลังจากนั้น ท่านทูตวีรชัยได้เข้าไปมีส่วนเข้าร่วมในฐานะคณะผู้ตัดสินคดีในข้อพิพาทหลากหลายคดีได้แก่

1. คดีข้อพิพาทระหว่างกาตาร์กับยูเออี โดยกาตาร์ฟ้องยูเออีเกี่ยวกับมาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้าและบริการ (DS 526)

2. คดีข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ กับจีน โดยสหรัฐฯ ฟ้องจีนเกี่ยวกับการจำกัดการนำเข้าสู่ตลาด โดยการใช้วิธีการชำระเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ (DS 413)

3. คดีที่อียูฟ้องสหรัฐฯ เกี่ยวกับการสนับสนุนการส่งออกเครื่องบินโบอิ้ง (DS 353)

4. คดีที่แอนติกาและบาร์บูดาฟ้องสหรัฐฯ เกี่ยวกับข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ เกี่ยวกับการให้บริการการเล่นการพนัน

5. คดีที่ตุรกีฟ้องอียิปต์เกี่ยวกับมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (DS 285)

6. คดีที่ปากีสถานฟ้องสหรัฐฯ เกี่ยวกับสหรัฐฯ ใช้มาตรการปกป้องต่อเส้นด้ายดิบจากปากีสถาน (DS 192)

7. คดีที่อินเดียฟ้องสหรัฐฯ เกี่ยวกับการใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดต่อสินค้าจำพวกผ้าปูที่นอนจากอินเดีย (DS 141)


จากประสบการณ์ในการร่วมกระบวนการระงับข้อพิพาทในหลากหลายคดี จะเห็นได้ว่า ท่านทูตวีรชัยมีคุณสมบัติที่ได้รับความไว้วางใจ จนเป็นที่ยอมรับในวงการการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงกระบวนการคัดเลือกคณะผู้พิจารณาอย่างเข้มข้น โดยจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมจากตัวแทนรัฐบาลของสมาชิก และบุคคลที่ไม่ใช่ตัวแทนของรัฐบาล มีภูมิหลังและประสบการณ์ที่หลากหลาย มีความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และความตกลงทางการค้าที่เกี่ยวข้อง และเป็นกลาง


เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว มิใช่ว่าจะได้รับเลือกเป็นคณะผู้พิจารณาเลย ยังต้องเริ่มจากการให้ชื่อของบุคคลนั้นอยู่ในบัญชีรายชื่อชี้แนะที่คู่พิพาทสามารถเลือกให้เป็นคณะผู้พิจารณาได้ (Indicative List) ซึ่งบัญชีรายชื่อนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิก164 ประเทศขององค์กรระงับข้อพิพาทด้วย หลังจากนั้น หากคู่พิพาททั้งสองฝ่ายเห็นชอบก็จะได้รับเลือกเป็นคณะผู้พิจารณาในคดีนั้นๆ


จากการผ่านการทำงานในกระบวนการระงับข้อพิพาทมาอย่างยาวนาน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่สารแสดงความเสียใจต่อการจากไปของท่านทูตวีรชัยจึงหลั่งไหลเข้ามาที่คณะผู้แทนถาวรฯ เพื่อราลึกถึงการสูญเสียของวงการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศในครั้งนี้ และสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของท่านทูตวีรชัยในการแก้ไขข้อพิพาทให้กับประเทศต่างๆ


สุดท้ายนี้ น่าจะถึงเวลาที่ประเทศไทยจะมองโลกที่เล็กลง โดยส่งเสริมบุคลากรของไทยให้มีโอกาสในการเข้าทำงานในองค์การระหว่างประเทศอย่างเช่นประเทศอื่นๆ สนับสนุนคนของตนในการทำงานในองค์การการค้าโลกในฐานะคณะผู้พิจารณา (Indicative List) ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่คนไทยจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการระงับข้อพิพาทของ WTO ได้


กาจฐิติ วิวัธวานนท์


ภาคผนวก :


คดีข้อพิพาททางการค้าที่ท่านทูตวีรชัยมีส่วนร่วมในการตัดสิน:


ในฐานะเป็น Panel Chair:

คดี DS526

United Arab Emirates – Measures Relating to Trade in Goods and Services, and Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights

คดี DS413

China – Certain Measures Affecting Electronic Payment Services


ในฐานะเป็น Panel Member:

คดี DS353

United States – Measures Affecting Trade in Large Civil Aircraft (Second Complaint)(Recourse to Article 21.5 by the European Union)

คดี DS353

United States – Measures Affecting Trade in Large Civil Aircraft (Second Complaint)

คดี DS285

United States – Measures Affecting the Cross-Border Supply of Gambling and Betting Services (Recourse to Article 22.6 by the United States)

คดี DS285

United States – Measures Affecting the Cross-Border Supply of Gambling and Betting Services (Recourse to Article 21.5 by Antigua and Barbuda)

คดี DS285

United States – Measures Affecting the Cross-Border Supply of Gambling and Betting Services

คดี DS211

Egypt – Definitive Anti-Dumping Measures on Steel Rebar from Turkey

คดี DS192

United States – Transitional Safeguard Measure on Combed Cotton Yarn from Pakistan

คดี DS141

European Communities – Anti-Dumping Duties on Imports of Cotton-Type Bed Linen from India (Recourse to Article 21.5 by India)


สารแสดงความเสียใจจากผู้อานวยการใหญ่องค์การการค้าโลก:




ข้อความแสดงความเสียใจ:


By John Adank, Director Legal Affairs Division

“Ambassador Plasai was extremely active and accomplished in the area of WTO dispute settlement, who had participated as both Chair as well as panelist in a number of WTO dispute settlement panels. I also recall him from my own time in the WTO as a delegate in the late 1990swhere he was one of the most active and constructive participants in dispute settlement discussions. He will be greatly missed by all of us who had the privilege of working with him. His loss is a great one not only at a personal level for those of us who knew him as a friend, but at a professional level as someone who made such a huge contribution to the cause of international law throughout his distinguished career.”


By Miguel Villamizar, Dispute Settlement Lawyer Secretary to the Panel

“It was with great sadness that I learned of Ambassador Plasai's passing. As the secretary of the Panel in the dispute DS526, which he was chairing, I transmit to you the sincere and heartfelt condolences from the delegates of both Qatar and the United Arab Emirates. At a personal level, I have you in my prayers and wish you strength and warmest wishes in moving forward.”

130 views
bottom of page