top of page
  • Writer's picturepmtwmocgoth

วิกฤติ COVID -19 บททดสอบแรกของกลไก TFA


การระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของการหารือของที่ประชุมคณะกรรมการ

ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Committee on Trade Facilitation) ของ WTO ซึ่งมีการประชุม

ครั้งแรกของปี เมื่อวันที่ 26-27 มกราคม 2564 โดยในการประชุมดังกล่าวได้มีการเชิญตัวแทน จากภาครัฐและ

ภาคเอกชน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทาง

การค้าให้กับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 อาทิ ยารักษาโรค อุปกรณ์ทางการแพทย์ และวัคซีนโควิด-19 เป็นต้น


ในระหว่างการประชุมฯ สหภาพยุโรป หรือ EU ได้เสนอให้สำนักเลขาธิการ WTO รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับประกอบการจัดทำข้อมูลการตอบสนองต่อวิกฤตโควิด-19 โดยเพิ่มประเด็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหา

และ ความท้าทายของประเทศสมาชิกและภาคธุรกิจต้องเผชิญกับอุปสรรคในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าช่วงวิกฤติ โรคโควิด-19 รวมถึงข้อเสนอแนะในเรื่องการปฏิรูป และการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก

ซึ่งจะเป็นการช่วยให้สมาชิกนำมาพิจารณา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวของ EU

ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ยังมีบางประเทศสมาชิกได้ตั้งข้อสังเกตว่า

การดำเนินการ ใด ๆ ภายใต้คณะกรรมการฯ ควรหลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนกับองค์กรศุลกากรโลก (WCO) และต้องสอดคล้องกับที่กำหนดไว้ภายใต้ความตกลงฯ รวมทั้งสนับสนุนให้รวบรวมข้อมูลจากภาคธุรกิจและ

องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย


การขนส่งวัคซีนโควิด ต้องสะดวก-ราบรื่น

ในระหว่างการประชุมฯ ได้มีการนำเสนอข้อมูลและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของประเทศสมาชิก

โดยได้มีการหยิบยกประเด็น ขั้นตอน และปัญหาในการขนส่งสินค้าเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19

โดยอธิบดีกรมศุลกากรของศรีลังกา ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับข้อริเริ่มและกลไกชั่วคราว เพื่อให้การขนถ่ายสินค้าเวชภัณฑ์และสินค้าจำเป็นเป็นไปอย่างราบรื่นในช่วงวิกฤติ ขณะที่ประเทศกลุ่มพันธมิตรด้านการอำนวยความสะดวกการค้าโลก (Global Alliance for Trade Facilitation) ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานร่วมกับสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน ในประเด็นการขนส่งวัคซีนโรคโควิด-19 และพิธีการศุลกากร รวมถึงการจัดการกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น


โควิด-19 บททดสอบการดำเนินการตาม TFA

ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลายเป็นบททดสอบ และความท้าทายของการดำเนินการ

ตามความตกลงการอำนวยความสะดวกด้านการค้า (Trade Facilitation Agreement – TFA) โดยสมาชิกจำนวนไม่น้อยต่างออกเสียงสนับสนุนและต้องการเห็นความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องไวรัสโควิด-19 และหยุดยั้งการแพร่ระบาดในครั้งนี้


ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการด้านการอำนวยความสะดวกด้านการค้า ได้มีการหารือในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามความตกลง TFA อาทิเช่น การรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน

โดยได้มีการนำเสนอข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพการขนส่งข้ามแดน โดยสมาคมขนส่งพัสดุด่วนระหว่างประเทศ (Global Express Association) ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่า ควรสนับสนุนให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วม

ในการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้า และรับฟังเสียงสะท้อนของภาคเอกชน

เรื่องการบังคับใช้ความตกลงฯ ในทางปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการตรวจปล่อยสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลาโดยเร่งรัดการปฏิบัติตามความความตกลงฯ ซึ่งมีผู้สนับสนุนหลายประเทศ รวมทั้งไทย


ทั้งนี้ ในส่วนของไทยนั้น ไทยได้สนับสนุนและเข้าร่วมการเจรจาข้อตกลง TFA มาตลอด โดยคณะรักษา

ความสงบแห่งชาติ (คสช) ได้เห็นชอบและพร้อมปฏิบัติตามข้อตกลง TFA ทันทีที่มีผลบังคับใช้

เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2557 รวมทั้งสิ้น 123 บทบัญญัติ และได้ปรับปรุงระเบียบภายในประเทศที่บังคับใช้ปัจจุบัน อาทิ การเผยแพร่ข้อมูลสำคัญสำหรับผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออก อาทิ อัตราภาษีศุลกากร ค่าธรรมเนียม ข้อกฎหมาย

การออกคำสั่งคำวินิจฉัยล่วงหน้าของพิกัดสินค้า และหลักเกณฑ์เงื่อนไขด้านความร่วมมือของหน่วยงานศุลกากร เป็นต้น


สำหรับประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากความตกลง TFA นั้น เชื่อว่า ในแง่ของผู้ประกอบการไทย จะสามารถขยายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการค้ากับประเทศที่มีระบบพิธีการศุลกากรที่ยุ่งยากซับซ้อน และการนำเข้าสินค้าด้านเวชภัณฑ์เกี่ยวกับโรคโควิด-19 เพื่อให้สามารถหยุดการแพร่ระบาดในครั้งนี้ได้ด้วย


Reference

85 views0 comments

コメント


bottom of page