top of page
  • Writer's picturepmtwmocgoth

มาตรการ SPS ภายใต้ WTO กับการรับมือโรคระบาดสัตว์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


คณะกรรมการ SPS และคณะกรรมการ WTO หามาตรการจัดการกับความเสี่ยงของ COVID-19 และโรคจากสัตว์สู่คนตามมาตรการ SPS เพื่อป้องกันโรคระบาดในอนาคต


การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงของโรคระบาดที่เกิดจากสัตว์สู่คนซึ่งจะส่งผล

กระทบต่อสุขภาพของคนมากขึ้น โดยผลการศึกษาในปี 2555 พบว่า โรคระบาดที่มีต้นกำเนิดจากสัตว์ส่งผลกระทบต่อการเจ็บป่วยของคนกว่า 2.5 พันล้านราย และมีตัวเลขการเสียชีวิตประมาณ 2.7 ล้านคนต่อปี โดยผู้เชี่ยวชาญได้เตือนว่าโรคระบาดจากสัตว์สู่คนจะเกิดมากขึ้นจากหลากหลายปัจจัย อาทิ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การทำ

การเกษตรโดยใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

ในหลักการของ WTO ได้ตระหนักถึงสิทธิของประเทศสมาชิกในการดำเนินมาตรการเพื่อปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับของมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ได้เน้นย้ำสิทธิของประเทศสมาชิกในการใช้มาตรการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นของ

การแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนผ่านการค้าระหว่างประเทศในสัตว์และผลิตภัณฑ์ รวมถึงสัตว์ป่า โดยจะต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้าหรือข้อกีดกันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม


ความตกลง SPS ได้สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรการ SPS ตามหลักมาตรฐานสากลในด้านสุขภาพสัตว์และโรคระบาดจากสัตว์สู่คน โดยจะต้องตระหนักถึงมาตรฐานที่พัฒนาโดยองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ถึงแม้ว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) และ OIE จะกล่าวว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะระบาดจากคนสู่คนโดยไม่ผ่านการค้าระหว่างประเทศในสัตว์และผลิตภัณฑ์ก็ตาม แต่ควรมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตาม ความเสียหายจากโรคระบาดสัตว์ทำให้ผลผลิตปศุสัตว์ได้รับผลกระทบกว่าร้อยละ 20 จนนำไปสู่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ปีละประมาณ 300,000 เหรียญสหรัฐ


จากผลกระทบของ COVID-19 ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โดย IMF ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงร้อยละ 4.5 ในปี 2563 และ WTO ได้ประเมินว่า การค้าทั่วโลกจะลดลงร้อยละ 9.2 ในปี 2563 โดยคำนวณจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีมูลค่า 367.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2561 ซึ่งเศรษฐกิจที่หดตัวดังกล่าวเป็นปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ ต่อการดำรงชีวิต ความมั่นคงด้านอาหาร และโภชนาการทั่วโลก


ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดสัตว์และโรคอุบัติใหม่ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกเป็นประเด็น ข้อกังวล ทางการค้า (Specific Trade Concerns) ภายใต้คณะกรรมการ SPS ถึงร้อยละ 35 และตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประเทศสมาชิกหลายประเทศได้แจ้ง Notification มาตรการทางการค้าที่เสี่ยงกับ การระบาดของ COVID-19 ภายใต้คณะกรรมการ SPS และคณะกรรมการ TBT ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2563 ได้มีการหารือเกี่ยวกับข้อจำกัดการนำเข้าในสัตว์และผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยผ่อนปรนกระบวนการการนำเข้า รวมถึงเพิ่มการใช้ Electronic Certification เพื่ออำนวยความสะดวกทาง การค้าด้วย


เมื่อเดือนกันยายน 2563 ได้มีความริเริ่มในการจัดการความเสี่ยงของโรคระบาดอุบัติใหม่ โดยคณะกรรมการด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพระหว่างประเทศ (International Health Regulations) หรือ IHR ได้เริ่มดำเนินการเพื่อหามาตรการในการตอบสนองต่อ COVID-19 นอกจากนี้ องค์กร WHO FAO และ OIE ได้ดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการตอบสนองภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัยด้านอาหาร ความเสี่ยงจากโรคระบาดจากสัตว์สู่คน และภัยคุกคามทางด้านสุขภาพอื่นๆ เพื่อหาแนวทางในการลดความเสี่ยงดังกล่าว


คณะกรรมการ SPS ภายใต้ WTO เป็นเวทีที่สำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแนวปฏิบัติที่ดี ของแต่ละประเทศ และหารือถึงมาตรการด้าน SPS บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่จัดการกับความเสี่ยงในเรื่อง COVID-19 และโรคระบาดจากสัตว์สู่คน โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงกฎระเบียบ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถรับมือกับโรคระบาดสัตว์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้



เอกสารอ้างอิง

625 views0 comments

コメント


bottom of page